วิธีดูแลสุนัข
เทคนิคและวิธีการเลี้ยงสุนัขอย่างถูกต้อง
การดูแลสุนัข
ที่อยู่ที่นอน
สุนัขควรมีที่อยู่ที่นอนเป็นที่เป็นทางแลเป็นสัดเป็นส่วน อาจจะใช้ผ้าเก่า ๆ หรือเศษผ้านุ่ม ๆ หลายๆชั้นทำเป็นที่นอนขนาดเล็กใหญ่แล้วแต่ความเหมาะสม ส่วนการจะเลี้ยงดูสุนัขไว้ในบ้านหรือไม่นั้นคงแล้วแต่ความพร้อมของสมาชิกในครอบครัว ส่วนใหญ่แล้วหากมันยังเล็กอยู่ก็นิยมเลี้ยงไว้ในบ้านเพื่อคอยดูแลและทำให้มันสนิทสนมกับคนในบ้านได้ง่าย แต่ต้องคอยดูแลเรื่องการขับถ่ายให้เป็นที่เป็นทางหากมีบริเวณบ้านมากพอ ควรเลี้ยงไว้นออกบ้าน โดยสร้างกรงที่ขมีขมันความแข็งแรง กว้างขวางตามขนาดของสุนัขควรมีมุ้งกางให้สุนัขด้วย มีหลังคากันแดดกันฝนได้ และมีฝากันลมในทิศทางที่ถูกต้อง บริเวณที่ตั้งกรงควรเลือกเอาที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น เวลากลางวันต้องมีแสงแดดส่องผ่านเข้าได้บ้างเพื่อฆ่าเชื้อโรคและให้กรงแห้งพื้นกรงควรจะสะดวกในการทำความสะอาด ไม่เป็นที่หมักหมดของสิ่งปฏิกูลต่าง ๆมีที่ระบายของเสียได้สะดวก
การตัดหาง
สุนัขบางพันธุ์นิยมตัดหาง ให้เหลือความยาวตามลักษณะในพันธุ์นั้นนิยม ซึ่งก็ควรตัดในขณะที่ยังมีอายยังน้อย ๆ อยู่เพื่อที่จะไม่มีเลือดออกมามาก สุนัขไม่เจ็บปวด แผลหายเร็วและทำได้ง่ายโดยไม่ต้องวางยาสลบ ฉะนั้นสุนัขพันธุ์ที่ต้องตัดหางหลังคลอดควรนำลูกสุนัขไปทำการตัดหางภายในหนึ่งสัปดาห์หากจะตัดหางเองต้องทำในระยะไม่เกิน 7 วันลังคลอด โดยการบูรป่าลิบขนบริเวณหางที่ต้องการตัดออกให้ถึงผิวหนังแล้วทำความสะอาดด้วยการใช้แอลกอฮอล์ หรือทิงเจอร์ไอโอดีน ทาให้ทั่ว ต่อจากนั้นก็รูดผิวหนังขึ้นมาทางโคนหางแล้วใช้เชือกหรือยางรัดไว้ให้แน่นตรงข้อที่ 2 ของกระดูกโคนหาง ใช้กรรไกรที่ฆ่าเชื้อแล้วตัดตรงระหว่างข้อของกระดูกที่จะตัด แล้วแต้มด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ทิ้งไว้ 4-5 ชั่วโมง จึงค่อยเอาเชือกหรือยางรัดออกปล่อยให้แผลหาย โดยมากผิวหนังของหางที่รูดขึ้นไปก็จะรูดลงมาเอง หรืออาจจะเย็บปิดก็ได้ถ้าต้องการ
การตัดหู
สุนัขบางพันธุ์นิยมตัดหู เช่น บ็อกเซอร์, โดเบอร์แมน, มินิเจอร์ พินเซอร์ และเกรท เดน ซึ่งก็ควรทำการตัดหูเมื่อลูกสุนัขอายุระหว่าง 12-14 สัปดาห์ เพราะขนาดโตพอที่จะทำการผาตัดได้ง่าย ทนต่อการวางยาสลบหลังจากตัดแล้วหมอจะต้องดามหูไว้จนกว่าหูจะตั้งตรงตามต้องการ ซึ่งกินเวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ ระหว่างนี้เจ้าของจะต้องคอยดูและอยู่ให้สุนัขเกาแผลจนไหมที่เย็บหลุด หรือแผลสกปรก เพราะจะทำให้รูปทรงของหูไม่เป็นไปตามต้องการ
การอาบน้ำ
สุนัขก็เหมือนคนที่จะต้องดูแลรักษาความสะอาดและตกแต่งให้ดูสวย น่ารักอยู่เสมอ เนื่องมาจากมันไม่สามารถจะทำความสะอาดและเสริมสวยให้ กับตนเองได้ ผู้เลี้ยงจึงจะต้องทำหน้าที่ สนใจในตัวของมันเสมือนหนึ่งเป็นตัวของมันเองเลยทีเดียวการอาบน้ำต้องใช้แชมพู และสบู่ควบคู่ไปด้วย ควรเลือกซื้อแชมพูหรือไม่ก็สบู่ที่ผลิตขึ้น
สำหรับใช้กับสุนัขเท่านั้น อย่านำแชมพูหรือสบู่ของคนมาใช้กับสุนัขโดยเด็ดขาด เพราะผิวหนังของสุนัขบางชนิดบอบบางมาก หากอาบน้ำด้วยแชมพูหรือสบู่ของคน จะทำให้มีปัญหาเรื่องขนแห้ง หยาบ และมีสะเก็ดรังแคขึ้นบนผิวหนัง บางตัวเป็นหนักถึงอาจจะขนร่วงไปเลยก็มี
ปัจจุบันแชมพูสุนัขมีให้เลือกหลายสูตร มีทั้งแบบผสมครีมในตัว ประเภททูอินวัน หรือทรีอินวัน ชนิดที่มีสารฆ่าเห็บ ฆ่าหมัด เยอะแยะมากมายไปหมด ก่อนซื้อควรอ่านดูฉลากข้างขวดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติอะไรบ้าง บรรจุเท่าใด หมดอายุวันไหน แล้วจึงเลือกซื้อมาใช้ให้ถูกกับลูกสุนัขของเรา
วิธีอาบน้ำให้สุนัข
อุปกรณ์ต้องเตรียม คือ แชมพูสำหรับสุนัข ผ้าเช็ดตัว อ่างน้ำ หรือสายยาง ที่ต่อจากก๊อกน้ำ เครื่องเป่าผม
ขั้นตอนการอาบน้ำให้สุนัขทำได้ดังนี้ คือ
จับสุนัขให้อยู่ในอ่างนิ่งๆ โดยการจับที่ปลอกคอ เป็นไปได้ควรอุดหูทั้งสองข้าง ของสุนัขด้วยสำลีเพื่อป้องกันมิให้น้ำเข้าหู แล้วจึงค่อยเทน้ำลงบนตัวสุนัขให้ทั่วทั้งตัว
ใช้แชมพูสุนัขเทลงบนตัวสุนัข แล้วจึงใช้มือถูนวดแชมพูให้ทั่วในขณะที่มืออีกข้างหนึ่งยังจับปลอกคอสุนัขอยู่เพื่อจะให้มันอยู่นิ่งๆ
ล้างแชมพูที่ส่วนหัวของลูกสุนัขก่อน จากนั้นจึงล้างแชมพูที่ลำตัวให้สะอาด แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้งทั้งตัว
เอาสำลีที่อุดหูออก แล้วเป่าขนให้แห้ง พร้อมกับแปรงขนให้ได้รูป
ทรงตามที่ต้องการ
การแปรงและหวีขน
สุนัขทุกพันธุ์ต้องการแปรงขนเหมือนกัน ไม่จำเป็นว่าสุนัขตัวนั้นจะ ต้องมีขนยาวเพียงเท่านั้น การแปรงหวีขน ของสุนัขบ่อยๆ นอกจากจะ ทำ ให้ขนสวย ขนไม่พันกันแล้ว ยังจะเป็นการทำความสะอาดตัวของสุนัขได้
เพราะเวลาเราแปรงขน สิ่งสกปรกจะถูกกำจัดออกมารวมทั้งบรรดาขนเก่า ที่หลุดออกมา นอกจากนั้นผิวหนังที่ได้รับการ กระตุ้นจากการ หวีหรือแปรงก็จะขับน้ำมันมาเคลือบขนสุนัขทำให้ขนนุ่ม และเป็นเงางาม โดยที่เราไม่ต้องเสียเงินไปซื้ออาหารเสริมมาให้มันกินให้สิ้นเปลืองเปล่า ๆ
ควรฝึกหวี และแปรงขนสุนัขแต่เล็ก ๆ เพื่อจะได้เคยชินและยอมให้เรา เสริมสวยแต่โดยดี
เทคนิคการหวีและแปรงขนสุนัข
การแปรงขนสุนัขทุกวันจะทำให้สุนัขมีสุขภาพดี ขนเป็นเงางาม ไม่มีสิ่งสกปรกหมักหมอยู่ ในขนสุนัข พันธุ์ขนยาว เช่น อาฟกัน ฮาวด์ ชิสุ ควรหวี ทุกวัน ส่วนสุนัขพันธุ์ขนสั้น เช่น บลูด็อก เกรดเดน แปรงขนเพียง
2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ก็พอ ส่วนสุนัขพันธุ์พุดเดิ้ลต้องใช้การตัดแต่งขน จะหวีให้ตรงแบบสุนัขพันธุ์อื่นไม่ได้
การหวีขนสุนัขพันธุ์ขนสั้น
อุปกรณ์ที่ใช้มีแปรงบิสเทิล แปรงหวีสลิดเกอร์ หวีตรง ขั้นตอนการหวี มีดังนี้
– ใช้หวีแปรงสลิดเกอร์หวีก่อน เพื่อจำกัดเอาขนที่พันออกไม่ให้เกิดก้อน สังกะตัง ออกแรงหวีเพียงเบาๆนุ่มๆ หวียาวๆ จากคอถึงลำตัวทำเช่นนี้ทั่วตัว
– ใช้หวีบิสเทิลแปรง เพื่อเอาขนที่ตายแล้วและสิ่งสกปรกให้หลุดออกจากขนของสุนัขทั้งตัว
– ใช้หวีตรง หวีบริเวณที่ยาว เช่น ส่วนของหาง เท้า ขา ถ้าพบว่าขนพันกันให้ใช้กรรไกรตัดออกสุนัขจะได้ไม่เจ็บ
การหวีขนสุนัขที่สั้นเกรียน
อุปกรณ์ที่ใช้มี แปรงรับเบอร์ หนังชามัวร์ แปรงบิสเทิล
– ใช้แปรงรับเบอร์ เพื่อแปรงย้อนขนสุนัขจะทำให้ขนตาย และสะเก็ด ผิวหนัง สิ่งสกปรกหลุดออกโดยง่าย
– ใช้แปรงบิสเทิล แปรงขนตัวสุนัขอีกครั้งให้ทั่วทั้งตัว เพื่อเอาขนที่ตายและสะเก็ดออก
– เช็คขนสุนัขด้วยหนังชามัวร์ เพื่อให้ขนเป็นมันเงางาม
การหวีขนสุนัขที่ขนตรงยาว
อุปกรณ์ที่ใช้มีแปรงสลิดเกอร์ แปรงบิสเทิล หวีตรง กรรไกร
– ใช้แปรงสลิดเกอร์หวีขนก่อน เพื่อทำให้ขนที่พันกันอยู่คลายตัวออก
– ใช้แปรงบิสเทิลหวีตามอีกครั้ง เพื่อทำให้ขนมันเงา และหวีง่ายขี้นไปอีก
– ใช้หวีตรง หวีจัดให้ขนของสุนัขตกลงไปข้างลำตัว ด้านซ้ายและด้านขวาตามแนวขน
– ใช้กรรไกรตัดแต่งบริเวณเท้าและหู เพื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อยดูสวยงาม
การดูแลหู
หูมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่ง สุนัขที่มีหูปกติจะต้องมีสีชมพูเรื่อๆ สะอาด ไม่มีกลิ่นผิดปกติ หูควรสะอาดไม่มีขี้หูมากจนเกินไป ไม่มีเห็บ หรือหมัด ไม่เป็นแผล หนอง สุนัขบางพันธุ์รวมทั้งพวกพุดเดิ้ล มักมีขนขึ้นที่บริเวณช่องหู ขนเหล่านี้จะเป็นตัวเพาะเชื้อโรค และหมักหมส่งสกปรกทั้งหลายได้เป็นอย่างดี พวกหูยานก็เก็บสิ่งสกปรกต่าง ๆ ได้ง่ายจึงต้องหมั่นเอาใจใส่เช็ดถูสิ่งสกปรกในช่องหูออกให้หมด พวกหูตั้งนี้รักษาง่าย เพราะช่องหูสามารถถ่ายเทกับอากาศภายนอกได้โดยธรรมชาติ ฉะนั้นสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงไม่สามารถหมักหมจนเกิดโรคได้มากนัก ถ้าหูสุนัขสกปรกมากก็ควรใช้สำลีหรือผ้านุ่มๆ เช็ดบริเวณใบหูและรูหูส่วนนอก ๆ เป็นประจำทางที่ดีหลังการอาบน้ำ เพราะสามารถตรวจสอบว่ามีน้ำหลงเหลือเข้าไปในรูหูหรือไม่ ถ้ามีจะได้เช็ดออกให้แห้ง เป็นการป้องกันหูอักเสบได้ด้วย แต่อย่าได้พยายามทำความสะอาดลึกเข้าไปในรูหูเป็นอันขาด บริเวณอ่อนไหวดังกล่าวควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแพทย์
การดูแลตา
ตาของสุนัขที่มีสุขภาพดีจะมีแววตาแจ่มใส ไม่ขุ่นมัวหรือมีสีแดง หรือมีขี้ตา รวมทั้งน้ำตาไหลเป็นคราบอยู่เสมอก็แสดงว่าต้องมีอะไรผิดปกติเข้าตา ถ้าเป็นโรคตาอักเสบธรรมดาเพราะผงเข้าตา ก็ควรใช้น้ำยาล้างตา 4-5 หยด ใส่เพื่อให้สิ่งสกปรกออกก่อน แล้วใช้ผ้าที่สะอาดเช็ดเบา ๆ รอบ ๆ ขอบตาออกได้ ถ้าเป็นมากกว่านี้ควรจะนำไปพบสัตวแพทย์สุนัขบางพันธุ์ เช่น พวกพุดเดิ้ล มักมีรอยด่างสีน้ำตาลที่ขนใต้ตาเสมอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะขนบริเวณนั้นเปียกแฉะเนื่องจากหยาดน้ำตาของสุนัข คราบน้ำตานี้จะติดแน่นที่หัวตาย้อยลงมา การกำจัดรอยด่างนี้ทำได้โดยการหมั่นเช็ดถูให้บ่อยๆครั้งทุกวัน เพื่อให้ขนที่ติดคราบน้ำตานี้ค่อย ๆหลุดร่วงหมดไปสุนัขบางตัวตาแฉะ อาจจะเป็นเพราะขนตาขึ้นผิดปกติ แยงเข้าไปในลูกตา การรักษาอาการนี้ควรเป็นหน้าที่ของสัตวแพทย์
การดูแลฟัน
โดยปกติแล้วสุนัขฟันผุได้ยากมาก แต่ที่เห็นบ่อยคือ เหงือกอักเสบ เกิดจากฟันสุนัขไม่สะอาด ขี้ฟันหมักหมมจนจับเป็นคราบสีเหลืองเกาะติดที่ผิวฟัน คือ หินปูนนั่นเอง บางทีหินปูนมีมากและลุกลามไปจนถึงเงือก ทำให้เหงือกอักเสบ มีกลิ่นปาก จนกระทั่งฟันหลุดไปในที่สุดวิธีป้องกันการจับตัวของหินปูน ควรให้สุนัขกินอาหารสำเร็จรูปที่เป็นเม็ดแห้ง หรือให้แทะกระดูกเสียบ้างเพื่อขัดฟัน แต่ถ้าจะให้ดีจริงๆ ควรให้สัตวแพทย์ตรวจฟันทุกปี สุนัขบางพันธุ์ก็มีการจัดเรียงตัวของฟันที่แย่มาก มีเหงือกเป็นหนองและฟันหลุดเสมอการให้แทะกระดูกไม่อาจช่วยได้เลย พวกนี้ต้องตรวจฟัน และทำความสะอาดเสมอโดยสัตวแพทย์
การดูแลเล็บ
เล็บสุนัขจะงอกจิกลงดิน มันจะสึกไปเองโดยธรรมชาติ แต่ถ้าเป็นสุนัขที่เลี้ยงบนพื้นไม้หรือพื้นซีเมนต์ มักจะพบปัญหาเล็บไม่สึก มีเล็บยาวเร็วกว่าปกติทำให้เดินไม่สะดวก และเมื่อทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้นิ้วคด หรือแยกห่างออกจากกัน บางทีก็ถอนหรือฉีกแตกจนเกิดหนองได้ จะทำให้สุนัขเจ็บปวดมากเวลาเดิน ฉะนั้นจึงต้องหมั่นตรวจดูแลตัดเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอการตัดเล็บสุนัขควรใช้กรรไกรสำหรับการตัดโดยเฉพาะ จะทำได้โดยง่ายและปลอดภัย ได้รอยตัดที่กลมโค้ง การตัดควรตัดที่ปลายเพียงเล็กน้อย ระวังอย่าตัดให้ถูกปลายประสาทสีชมพูในเล๋บได้สุนัขที่มีเล็บดำไม่สามารถมองเห็นปลายประสาทนี้ได้ ฉะนั้นตัดเล็บจึงทำได้แค่คลิบปลายเพียงเล็กน้อย หรือตัดตรงตำแหน่งต่ำจากบริเวณที่มีเลือดมาเลี้ยงสัก 3มิลลิเมตร การตัดเล็บควรทำทุกเดือน โดยหลังการอาบน้ำ เพราะเล็บที่เปียกน้ำจะอ่อนตัดง่ายกว่าธรรมดา
——————————————-
วิธีดูแลสุขภาพสุนัขในช่วงอายุต่างๆ
1.การดูแลสุนัขแรกคลอด
ลูกสุนัขเกิดใหม่จะมีอุณหภูมิร่างการค่อนข้างต่ำ จึงควรกกไฟเพื่อเพิ่มความร้อนให้แก่ร่างกาย
ให้ลูกสุนัขได้รับน้ำนมเหลืองจากแม่ภายใน 24 ชั่วโมง
สังเกตอยู่เสมอว่าแม่สุนัขมีน้ำนมให้ลูก
สุนัขจะเริ่มลืมตาหรือได้ยินเสียงต่างๆ เมื่ออายุประมาณ 2 สัปดาห์
หากลูกสุนัขไม่ดูดนมแม่หรือแม่มีน้ำนมไม่พอควรให้นมผงสำหรับสุนัขโดยใช้ syringe ค่อยๆหยอดเข้าปาก ไม่ควรให้นมโคลูกสุนัข เพราะจะทำให้ท้องเสีย
ปริมาณแคลลอรี่ที่ลูกสุนัขต้องการคือ 22-26 Rcal/100 gm. ของน้ำหนักตัว
ในช่วงอายุ 2-3 สัปดาห์ น้ำหนักควรเพิ่ม 10-15 % ต่อวัน
2. การดูแลสุนัขช่วงวัยเด็ก วัยเจริญพันธุ์
การดูแลผิวหนังและขน
สุนัขที่มีสุขภาพดี ขนจะเป็นเงางาม ไม่แห้งและมันจนเกินไป
ผิวหนังไม่หยาบแห้ง ไม่มีรังแคและปรสิตภายนอก
สุนัขที่มีความผิดปรกติที่ผิวหนังจะมีอาการคัน ขนร่วงบางตำแหน่ง หรือร่วงเป็นบริเวณกว้าง ผิวหนังเป็นตุ่มหนองหรือเป็นผื่นแดง
สุนัขที่มีหูปรกควรเช็ดหูอย่างสม่ำเสมอ
สุนัขที่มีขนสั้นหรือเรียบติดผิวหนัง ควรแปรงขนสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
สุนัขที่มีขนยาว ควรแปรงขน 1-2 วัน/ครั้ง และควรเล็มขนที่เท้า นิ้วเท้า และหูออกอย่างสม่ำเสมอ
ขนที่ยาวเหนือตาควรเล็มออก หรือรวบด้วยริ้บบิ้นหรือโบว์
การอาบน้ำ
ระหว่างการอาบน้ำควรใส่ปลอกคอให้สุนัขเพื่อใช้จับและป้องกันการกระโดดของสุนัข
หลังจากแปรงขนแล้วให้ใช้ก้อนสำลีอุดหูสุนัขแล้วใช้น้ำสะอาดราดตัวสุนัข
ใช้แชมพูสำหรับสุนัขฟอกให้ทั่ว ยกเว้นบริเวณหัว
ถูนวดย้อนขนจนแชมพูเกิดฟอง
บริเวณหัวใช้แชมพูที่ไม่ระคายเคืองตาเทลงมือแล้วนวดขนสุนัข
ระวังอย่าให้ฟองแชมพูกระเด็นเข้าตาและปากสุนัข
ล้างแชมพูบริเวณหัวออกและเช็ดให้แห้งก่อน แล้วจึงล้างแชมพูบริเวณลำตัวออก วิธีนี้จะป้องกันสุนัขสะบัดน้ำกระจายไปทั่ว
บีบไล่น้ำที่ติดค้างตามขนออกให้มากที่สุด แล้วใช้ผ้าเช็ดตัวเช็ดตัวให้แห้ง
ใช้เครื่องเป่าผมเป่าขนให้แห้ง และแปรงขนไปในทิศทางออกจากตัว
ไม่ใช้เครื่องเป่าผมกับสุนัขที่มีปัญหาโรคผิวหนัง
การตัดเล็บ
จับนิ้วสุนัขให้แยกออกจากกัน และตรวจผิวหนังระหว่างนิ้ว
เช็ดสิ่งสกปรกระหว่างนิ้วออกด้วยสำลีชุบน้ำ
ตัดเล็บในบริเวณที่มีสีเล็บเป็นสีขาว
บริเวณสีชมพูเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาทและเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงมาก
ตะไบปลายเล็บให้เรียบ หากสุนัขมีนิ้วติ่งให้ตัดเล็บที่นิ้วติ่งออกด้วย
การทำโปรแกรมวัคซีน
วัคซีนรวม 5 โรค เข็มแรก ตอนอายุ 2 เดือน เข็มที่สอง ตอนอายุ 2 เดือนครึ่ง
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เข็มแรก ตอนอายุ 3 เดือน เข็มที่สอง ตอนอายุ 6 เดือน
วัคซีนทุกชนิดกระตุ้นซ้ำปีละครั้ง
ฉีดยาป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ เริ่มตอนอายุ 3 เดือน และฉีดป้องกันทุกๆ 2 เดือน (ยาป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ ไม่ใช่วัคซีน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น